วัตถุประสงค์
ศึกษาการทำงานของโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ระบบเครือข่าย Wireless LAN โดยใช้โปรแกรม AirMagnet Laptop ในการวิเคราะห์เบื้องต้น
อุปกรณ์ในการทดลอง
1. คอมพิวเตอร์
2. อุปกรณ์รับสัญญาณ Wireless LAN
3. คู่มือการใช้งานโปรแกรม AirMagnet Laptop
การทดลอง
ขั้นตอนการทดลอง
1. เปิดโปรแกรม AirMagnet Laptop
2. ศึกษาการทำงานของโปรแกรมวิเคราะห์เครื่องข่าย Wireless LAN
3. บันทึกผลการศึกษาการทำงานของโปรแกรม
ผลการทดลอง
การศึกษาผลการทำงานของโปรแกรม AirMagnet Laptop ทางผู้ทำการทดลองได้ศึกษาโปรแกรมโดยสามารถแบ่งเป็น 8 ส่วนหลักๆ คือ
1. การเริ่มต้นโปรแกรม AirMagnet Laptop
2. แถบนำทาง(Navigation Bar)
3. หน้าจอแสดงส่วนภาพรวมของ Wireless LAN
4. หน้าจอแสดงข้อมูลของช่องสัญญาณคลื่น Wireless
5. หน้าจอแสดงข้อมูลที่จุดต่างๆของคลื่น Wireless LAN
6. หน้าจอการใช้ AirWISE ในการแก้ปัญหา Wireless LAN
7. Identifying top WLAN issues.
8. หน้าจอ Decoding WLAN frame packets.
จากหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นเราสามารถเริ่มโปรแกรมโดยการคลิกที่ Start>Programs>AirMagnet>AirMagnet เราจะเห็นหน้าจอโปรแกรม AirMagnet Laptop ดังรูป

แสดงส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม AirMagnet Laptop Wireless LAN Analyzer
เมื่อเริ่มเปิดโปรแกรม
AirMagnet Laptop Wireless LAN Analyzer’s จะเริ่มทำงานที่หน้าจอ start ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงสถานะต่างๆของเครือข่ายโดยรวม ประกอบด้วย (1)ข้อมูลสรุปของภาพสัญญาณ, (2)โครงสร้างของระบบ,(3)สถานะความปลอดภัย และประสิทธิภาพ, (4)และกรอบการสื่อสารบนเครือข่าย Wireless LAN
แถบนำทางไปส่วนต่างๆของโปรแกรมนั้นจะอยู่ด้านล่างของหน้าจอโปรแกรม AirMagnet Laptop ประกอบด้วยปุ่มต่างๆที่จะนำทางไปส่วนต่างๆของโปรแกรมที่แตกต่างกัน โดยการคลิกที่ปุ่มแต่ละชนิด ดังนี้

ในการเปิดโปรมแกรมครั้งแรกนั้นจะปรากฏที่หน้าจอ Start หรือในการทำงานเราสามารถคลิกที่ปุ่ม 
จากแถบนำทางเพื่อเข้าสู่หน้าจอStart ได้ โดยปกติแล้วโปรแกรม AirMagnet Laptop Wireless LAN Analyzer จะเริ่มการทำงานในโหมด Live Capture สามารถสังเกตได้ที่แถบด้านบน (ดูรูปที่ 1) ในหน้าจอนี้จะง่ายต่อการวิเคราะห์ ลักษณะเฉพาะของช่องสัญญาณ ส่วนประกอบของ Wireless LAN (เช่น เครื่องกระจายสัญญาณ หรือ เครื่องลูกข่าย) หรือความปลอดภัยตลอดจนประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรวัดสัญญาณ
ในมุมด้านบนซ้ายมือของโปรแกรมจะแสดงมาตรวัดสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงภาพของสัญญาณของแต่ละช่องสัญญาณ แสดงออกมาในรูปแผนภูมิแท่ง

จากรูปเราจะสังเกตเห็นแถบสีต่างๆ คือ เขียว น้ำตาล และแดง แต่ละแถบจะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามภาพของสัญญาณดังนี้
สี |
รายละเอียด |
สีเขียว |
แสดงว่ามีเครื่องกระจายสัญญาณ (Access point) หรือเครื่องลูกข่าย (client station) สื่อสารกันขณะนั้น |
สีแดง |
แสดงถึงช่องสัญญาณรบกวนในระบบที่ตรวจวัดได้ในช่องสัญญาณแต่ละช่อง ถ้ามีอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิด สัญญาณรบกวนที่ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz จะแสดงแถบสีแดง ถึง 10% หรือ 75 dBm ซึ่งสัญญาณรบกวนนี้จะส่งผลถึงการสื่อสารของ Wireless LAN |
สีน้ำตาล |
แสดงผลของการทับซ้อนของช่องสัญญาณที่ไปรบกวนซึ่งเป็นธรรมดาของการส่งสัญญาณแบบ 802.11 ที่จะมีการทับซ้อนกันอยู่ |
Signal, Noise and Signal-to-Noise Ratio
เราสามารถที่จะขยายเพื่อดูรายละเอียดของช่องต่างๆโดยคลิกที่ปุ่ม ลง ในมุมบนด้านขวามือของหน้าต่าง หน้าต่างซึ่งแยกการแสดงข้อมูล ประกอบด้วย ความเข้มของสัญญาณ (เขียว/น้ำตาล), ระดับสัญญาณรบกวน (เขียว) และ single-to-noise ratio (เหลือง) ดังรูปที่ 3
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ปุ่ม ขึ้น และ ลง เพื่อสลับไปมาระหว่างหน้ามาตรวัดหลักและรายละเอียดข้างต้นได้

ข้อมูลที่แสดงในส่วน 802.11
ข้อมูลที่แสดงในส่วน 802.11 นั้น จะเป็นข้อมูลที่สรุปโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Wireless LAN ในเครือข่ายทั้งหมด ที่สามารถตรวจจับได้ และจะแสดงเป็นผลรวมของชนิดอุปกรณ์ในแต่ละประเภท ดังรูปที่3
ส่วนสรุปของประสิทธิภาพและความปลอดภัย
จะแสดงอยู่ด้านล่างของส่วน 802.11 จะแสดงข้อมูลสรุปของโหมดการทำงานแบบ AirWISE ที่สามารถตรวจจับประสิทธิภาพและความปลอดภัยได้ ซึ่งจะแสดงตัวเลข 4 ตำแหน่ง ตามแต่ละลำดับขั้นของความปลอดภัยตัวเลขจากด้านซ้ายไปขวาแสดงการเตือนสถานะ Critical, Urgent, Warning หรือ Informational ดังรูปที่ 3
การเปลี่ยน Media Type
AirMagnet Laptop Wireless LAN Analyzer นั้นได้รับรองระบบเครือข่ายแบบ 802.11 a/b/b/g ดังนั้นเราสามารถเปลี่ยน Media Type ให้อยู่ในรูปแบบที่เราต้องการได้โดยการคลิกที่หน้าจอมุมบนขวา ซึ่งจะแสดงสัญลักษณ์ ดังนี้

การเปลี่ยนหน่วยในการวัดสัญญาณ
ปกติแล้วโปรแกรมจะแสดงความแรงสัญญาณ ความแรงของสัญญาณรบกวนและ signal-to-noise ratio ในรูปแบบ % ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนให้แสดงในรูปแบบ dBm ได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม
สลับไปมากลับปุ่ม
ได้ที่หน้าจอมุมบนซ้ายมือ
ส่วนแสดงกราฟ
จะเป็นการแสดงอย่างคร่าวๆ ของการตรวจจับของสัญญาณ ดังรูปที่ 4

กรอบสรุปกลุ่มข้อมูล
ในมุมด้านล่างซ้ายของโปรแกรมจะมีตารางแสดงข้อมูลสรุปของการรับส่งสัญญาณในระบบเครือข่าย Wireless LAN ในตารงแสดง broadcast, multicast และ unicast ดังรูปที่ 4
ชนิด |
รายละเอียด |
Broadcast
|
บ่งบอกถึงรายละเอียดของการติดต่อสื่อสารในขณะที่มีการส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังหลายๆจุดเท่านั้น |
Multicast
|
เป็นรูปแบบการสื่อสารที่จากเครื่องหลักนั้นจะส่งสัญญาณไปยังกลุ่มในเวลาเดียวกัน |
Unicast |
เป็นส่วนที่ใช้อธิบายการติดต่อสื่อสารที่ข้อมูลถูกส่งไปจากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นเพียงจุดเดียว |
ตารางสรุปข้อมูลของคลื่น Wireless LAN
ในด้านขวามือของหน้าจอโปรแกรมจะมีตารางแสดงข้อมูลสรุปของการจับสัญญาณของอุปกรณ์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายของเราโดยแต่ละช่องนั้นจะแบ่งทั้งหมด 16 ชนิด ซึ่งแต่ละช่องนั้นสีที่เราเห็นจะมีความหมายต่างกันไป ดังรูปที่ 5

หัวตาราง |
รายละเอียด |
Channel |
ช่องสัญญาณทั้งหมดที่สามารถตรวจจับได้ใน Wireless LAN |
Device/MAC Address |
อุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับได้ในแต่ละช่องพร้อมทั้งแสดงค่า
MAC Address |
Media |
ชนิดของ 802.11 media, i.e.,802.11b หรือ 802.11ที่กำลังใช้อยู่ |
Signal |
ความแรงของสัญญาณในรูป % หรือ dBm |
Noise |
ความแรงของสัญญาณรบกวนในรูป % หรือ dBm |
S/N |
อัตราส่วนระหว่างสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน(Signal to Noise ratio) วัดในรูป % หรือ dBm |
Security |
แสดงถึงกลไกความปลดภัยที่ใช้บน Wireless LAN
- N = WEP disabled;
- Y = WEP required;
- V = PPTP, IPSec , Secure Shell, etc;
- 1x= 802.1x
|
TK/MIC |
แสดงถึงความปลอดภัยของ TKIP และ MIC ที่กำหนด
- Y = ทำงาน
- N = ไม่ทำงาน
- U = ไม่แสดง
|
Bridge Mode
|
- Y = ใช้ Bridge Mode
- N = ไม่ใช้ Bridge Mode
|
SSID |
ชื่อของ SSID แต่ละช่องสัญญาณ |
BI |
ระยะเวลา Beacon (ในหน่วยมิลลิวินาที) |
#STA |
จำนวนเครื่องที่ใช้งานในแต่ละช่องสัญญาณ |
Preamble |
Preamble แสดงค่า Long กับ Short |
PCF/DCF |
Point Coordination Function/Distributed Coordination Function |
First , Last |
เวลาที่ข้อมูลชุดแรกได้รับ , เวลาที่ข้อมูลชุดสุดท้ายได้รับ |
สีตาราง |
รายละเอียด |
สีแดงบนช่องสัญญาณ
|
แสดงว่าไม่มีสัญญาณเตือนบนช่องสัญญาณ สามารถกด Tap เพื่อเปิดไปดูส่วนหน้าจอ Alarmsได้ |
สีแดงบน
Device/MAC Address |
แสดงถึงอุปกรณ์ที่ไม่มีการติดต่อใดๆ มานานกว่า 60 วินาที สามารถกด Tap เพื่อเปิดไปดูรายละเอียดในส่วนหน้าจอ Infrastructure ได้ |
สีเหลืองบน
Device/MAC Address |
แสดงถึงอุปกรณ์ที่มีการติดต่ออยู่ระหว่างช่วงวินาทีที่ 5 ถึงช่วงเวลา 60 วินาที สามารถกด Tap เพื่อเปิดไปดูรายละเอียดในส่วนหน้าจอ Infrastructure ได้ |
สีเขียวบน
Device/MAC Address |
แสดงถึงอุปกรณ์ที่มีการติดต่อ ในช่วง 5 วินาทีที่ผ่านมา สามารถกด Tap เพื่อเปิดไปดูรายละเอียดในส่วนหน้าจอ Infrastructure ได้ |
สีเทาบน
Device/MAC Address |
แสดงถึงอุปกรณ์ที่มีการติดต่อ ( อ้างอิงจากการตั้งค่าในส่วน configuration) สามารถกด Tap เพื่อเปิดไปดูรายละเอียดในส่วนหน้าจอ Infrastructure ได้ |
- การทำงานในส่วนหน้าจอ Channel
เราสามารถสับเปลี่ยนไปใช้หน้าจอ Channel ได้โดยการเลือกปุ่มนำทาง (Navigation Bar) Channel หรือคลิกที่แผนภูมิ ณ ช่องสัญญาณใดๆในหน้าจอส่วนที่แสดงมาตรวัดจะปรากฏดังรูปที่ 6




ช่องสัญญาณ Utilization และ Throughput
ด้านบนสุดของหน้าจอจะพบมาตรวัด 2 ชนิดด้วยกันคอหน้าจอแสดงส่วน Utilization และ Throughput สัญญาณนั้นสามารถแสดงออกมาในรูป เปอร์เซ็นต์ หรืออาจแสดงออกมาในรูป dBm ก็ได้ กฏทั่วไปนั้น 60% ของ Utilization หรือ 6 Mbps จะมีขีดจำกัดสูงสุดที่ขึ้นอยู่กับปริมาณงานต่อหน่วยเวลาในเครือข่ายแบบ 802.11b ค่าคงที่ที่ช่องสัญญาณสูงที่ Utilization จะมีการจราจรที่มากที่สุดที่ 11 Mbps และชุดข้อมูลจะมีอัตราการผิดพลาดที่แสดงออกมาในระบบเครือข่ายแบบ 802.11b จะไม่มีพื้นที่ว่างพอที่ผู้ใช้ต้องการดังนั้นเราจึงแก้ไขได้โดยการเพิ่มจุดกระจายสัญญาณให้มากขึ้น
เราสามารถสับเปลี่ยนไปมาระหว่างช่องสัญญาณต่างๆโดยการคลิกที่ตัวเลขที่อยู่ด้านบน เมื่อเราเลือกแล้วก็จะคงหน้าจอจนกว่าเราจะเลือกช่องสัญญาณใหม่ ช่องสัญญาณที่เราเลือกนั้นจะแสดงอยู่ในวงกลมสีเขียว ตรงกลางระหว่างแผนภูมิทั้งสองดังรูปที่ 7
Speed และ Media Type
เมื่อ
หรือ 
ได้ถูกเลือกแล้ว ฟิวเตอร์ที่เราได้กำหนดไว้ใต้ชื่อของช่องสัญญาณในวงกลมนั้นจะทำงานแบบ Speed และ Media Type ขึ้นอยู่กับที่เราเลือก
ข้อมูลสรุปของช่องสัญญาณ
ด้านมุมซ้ายของหน้าจอจะพบตารางสรุปข้อมูลที่ช่วยในการวิเคราะห์ต่างๆเกี่ยวกับช่องสัญญาณนั้น ในส่วนบนสุดนั้นจะแสดงส่วนสรุปของความปลอดภัย แสดงโดยสัญลักษณ์
และเมื่อเราคลิก
เราสามารถที่จะเข้าไปสู่หน้าจอ ของ air WISE ซึ่งเราสามารถดูรายละเอียดในนั้นได้ต่อไป
ด้านใต้ข้อสรุปความปลอดภัยนั้นจะเป็นรายการสรุปข้อมูลของสัญญาณที่ช่องสัญญาณนั้น แต่ละชนิดข้อมูลจะแสดงออกมาในรูปสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย + และเครื่องหมาย – ซึ่งเราสามารถขยายดูรายละเอียด และ ย่อดูได้ตามลำดับ นอกจากนี้เรายังสามารถดูข้อมูลได้ สองแบบคือ Channel rate หรือ Channel Total

สรุปความเร็วในการเชื่อมต่อของช่องสัญญาณและสรุปข้อมูลของสัญญาณของช่องสัญญาณ

ข้อมูลของช่องสัญญาณที่แสดงโดยกราฟ

จากรูปแสดงข้อมูลที่อยู่ในรูปกราฟของช่องสัญญาณ ซึ่งอยู่ทางด้านล่างขวาของหน้าจอ Channel ซึ่งส่วนบนของกราฟนั้นจะมีฟิวเตอร์ให้เลือกอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ตัวเลือกข้อมูล และตัวเลือกกราฟเพื่อที่แสดงผล
การทำงานในหน้าจอของ Instructure
เราสามารถเข้าไปยังหน้าต่าง intructure โดยการกดปุ่ม SSID , Ad – Hoc, AP, STA จากหน้าต่าง start หรือเราอาจจะเปิดจากแท็บ
บนปุ่มนำทาง ( Navigation bar )
ดังรูปที่ 10

The network tree structure
ส่วนทางด้านซ้ายของหน้าต่าง instructure ได้แสดงจุดที่เชื่อมต่อทั้งหมดในรูปแบบแผนผังที่อยู่ใน WLAN ในส่วนของ network tree structure เราสามารถให้โปรแกรมแสดงผล เฉพาะส่วนของ SSID , channel ,AP ,Station ,peer to peer , network หรือ 8021.1x user ได้ การเลือกแบบ access point จะแสดงเป็นสถานีโดยแบ่งแยกจาก mac หรือ IP address ดังรูปที่ 10
รหัสสีที่แสดงบนหน้าจอ Infrastructure
จากรูปจะเห็นได้ว่า SSID, ASPs และสถานีจะสื่อความหมายจากสี โดยแต่ละสีจะแสดงสถานะของ สัญญาณ RF ดังนี้
สี |
รายละเอียด |
เขียว |
สัญญาณที่ถูกพบจากอุปกรณ์ภายใน 5 นาที |
ส้ม |
สัญญาณที่ถูกค้นพบจากอุปกรณ์ระหว่าง 5 นาทีถึง 60 นาที |
เทา |
สัญญาณที่ถูกพบจากอุปกรณ์มากกว่า 60 นาที |
แดง |
ไม่มีสัญญาณที่ถูกค้นพบจากอุปกรณ |
มุมมองรายละเอียดของข้อมูลในระบบเครือข่าย
ทางด้านขวาของหน้าจอ Infrastructure แสดงข้อมูลของจุดเชื่อมต่อที่ได้เลือกเอาไว้จากด้านซ้าย การเลือก AP หรือ station ทางด้านซ้ายโปรแกรมจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์นั้นๆ
ข้อมูลแสดงในรูปกราฟของ Instructure
ส่วนบนของหน้าจอ instructure แสดงข้อมูลเป็นกราฟสำหรับโหลดที่เลือกจาก network tree เราสามารถเลือกชนิดข้อมูลที่จะนำมาแดงเป็นกราฟโดยดูได้จาก option ดังรูปที่ 11.1 และ 11.2

รายการข้อมูลสรุปของ instructure
ส่วนล่างของโปรแกรมส่วนใหญ่จะเหมือนข้อมูลที่แสดงข้อมูลที่แสดงบนหน้าจอ channel แต่ที่แสดงในหน้าต่าง instructure จะ โฟกัสมากกว่าเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เป็นโครงสร้างเช่น SSIDs , APs, Station ดังนั้นปุ่มที่อยู่ด้านล่างของคอลัมป์ที่อยู่บริเวณล่างซ้ายของหน้าจอจะแสดงรายละเอียดของ APs หรือ Station เราสามารถที่จะคลิกที่เครื่องหมายบวก เพื่อแสดงรายละเอียดของข้อมูลและถ้าคลิกที่รายการละเอียดย่อยออกมาโปรแกรมจะแสดง pie chart ดังรูปที่ 12

ข้อมูลแสดงแบบกราฟวงกลมของ Infrastructure
กราฟวงกลมใช้แสดงข้อมูลจาก AP หรือสถานีที่เลือกจาก network tree เราสามารถใช้กราฟวงกลมแสดงข้อมูล ความเร็ว การเตือน เฟรม การควบคุมเฟรม การจัดการเฟรม ข้อมูลหรือเฟรม หรือ AP ได้โดยการเลือกข้อมูลทางด้านขวาของกราฟวงกลม ส่วน Alarm Status แสดงจำนวนของคำเตือนความปลอดภัยที่เกิดขึ้น
การคลิกที่ 
โปรแกรมจะเปิดเป็นหน้าต่าง AirWISE ซึ่งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อไป
โปรแกรมนี้ที่เครื่องมือวิเคราะห์ patent – pending ที่จะช่วยแสดงการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย และแสดงสถานะ ประสิทธิภาพ, pinpoint ,ปัญหา และ ทางแก้ไขปัญหาต่างๆ การเข้าหน้าจอนี้ทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่นการคลิกที่ปุ่ม Security หรือ Performance จากหน้าต่าง start กด
ในส่วนต่างๆของโปรแกรม กด ปุ่มนำทาง 

จัดระบบป้องกันภัยในเครือข่าย
จากรูปที่ 14 สามารถแบ่งได้ เป็น 2 กลุ่มคือ Security และ performance ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้อีกบริเวณใต้สุดของแต่ละกลุ่มจะบอกจำนวนการบุกรุก
ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวบอกถึงจำนวนของความปลอดภัย ในแต่ละกลุ่ม


Alarm tree VS Alarm List
โดยปกติ จะแสดงลำดับของคำเตือนเป็นกลุ่มๆเราสามารถเลือกชนิดการเรียงข้อมูลจากช่องสัญญาณ คำเตือน เวลา จุดเชื่อมต่อ ได้ดังรูปที่ 20 เราสามารถสลับไปมาระหว่าง Alarm tree และ Alarm List ได้โดยการเลือกที่ปุ่ม
และปุ่ม 
คำเตือนความปลอดภัยและรหัสสีต่างๆ
สีต่างๆใน alarm จะสื่อความหมายดังนี้
- แดง – Critical
- ส้ม – Urgent
- เหลือง – Warning
- น้ำเงิน – Information
Filtering Alarm Display
โปรแกรมมีตัว filtering alarm 2 ตัว คือ primary ทำให้แสดงจาก SID, channel, ap, station เป็นต้น และตัวที่ 2 second จะไม่แสดงส่วนที่เลือก

เข้าสู่หน้าต่างนี้โดยการกดปุ่มนำทาง 
ดังรูปที่ 17 หน้าต่างนี้จะจัดอันดับ 10 อันดับแรกของ APs, Station, nodes, Channel โดยดูจาก frames speed , 8021.1x user, type เป็นต้น

Choosing a graph Option
เราสามารถปรับรูปแบบ chart โดยกดที่ Graph Options ดังรูป 17
Choosing a Top – 10 Category and a Data type
ที่มุมซ้ายบนนั้นเราสามารถเลือกหมวดหมู่ของการแสดงผลของกราฟได้จะเป็น Top 10 APs, Top STAs, node หรือจะเป็น channel ส่วนถัดกันมาเราจะสามารถเลือกชนิดของข้อมูลได้ เช่น frame speed หรือ media type
Chart Data Tabulation
บริเวณใต้กราฟจะแสดงรายละเอียดของข้อมูลทั้ง 10 ตัว ซึ่งจะช่วยอธิบายข้อมูลได้ดีขึ้น
เราสามารถเข้าสู่หน้าต่าง Decodes โดยกดที่ปุ่มนำทาง Decodes โดยหน้าต่างนี้ก็จะแสดงข้อมูลต่างๆ เป็นตาราง เช่น เวลาระหว่างเฟรม channel, ความยาวเฟรม เป็นต้น
เนื่องจากข้อมูลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้อ่านค่าได้ยาก แต่เราสามารถทำ ให้หยุดได้โดยการกดปุ่ม
และเราก็ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดโดยการกด
เพื่อจะค้นหาและกำจัดข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้

ตาราง พารามิเตอร์ของหน้าจอ decode
ชื่อ |
รายละเอียด |
No |
ลำดับของ Packets ที่ถูกตรวจจับ โดยจะแสดงเฉพาะเมื่อ Packets ที่ตรวจนั้นหยุดแล้ว |
Frame Gap |
ระยะเวลาระหว่างเฟรม |
CH |
ช่องสัญญาณ |
S |
ความแรงของสัญญาณ |
Length |
ความยาวเฟรม |
Source |
ตำแหน่งต้นทาง |
Destination |
ตำแหน่งปลายทาง |
Summary |
รายละเอียดของ packet ข้อมูล |
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรวจจับ
1. หลังจากที่เรา stop การ live capture แล้วจะมีหน้าจอตามรูปที่ 19 และเราสามารถเลือกข้อมูลแต่
ละ packet ได้โดยใช้ scroll bar
2. ทำการเลือก packet ที่สนใจด้วย check box ที่คอลัมน์ที่มีตัวอักษร M
3. จากหน้าต่างวิเคราะห์ข้อมูลเราสามารถเลือกเครื่องหมายบวกเพื่อทำการดูข้อมูลของ packet ที่เราสนใจได้
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อหาปัญหา

วิจารณ์ผลการทดลอง
จากการศึกษาผลผลการทำงานของโปรแกรม Air Magnet Laptop พบว่าโปรแกรมแบ่งเป็นส่วนต่างๆดังนี้
แถบที่ 1 การเริ่มต้นโปรแกรม Air Magnet Laptop
แถบที่ 2 แถบนำทาง (Navigation Bar)
แถบที่ 3 หน้าจอแสดงส่วนภาพรวมของ Wireless LAN
แถบที่ 4 หน้าจอแสดงข้อมูลของช่องสัญญาณคลื่น Wireless LAN
แถบที่ 5 หน้าจอแสดงข้อมูลที่จุดต่างๆ ของคลื่น Wireless
แถบที่ 6 หน้าจอการใช้ Air Wise ในการแก้ปัญหา Wireless LAN
แถบที่ 7 Identifying top WLAN issues.
แถบที่ 8 หน้าจอ Decoding WLAN frame packets
ซึ่งในการศึกษาการใช่โปรแกรม Air Magnet Laptop ทำให้เห็นถึงข้อแตกต่างมากมายโดยโปรแกรมนี้จะแสดงความแตกต่างของสัญญาณ อัตราการส่งข้อมูลหรือช่องสัญญาณผ่านแถบโค้ดสีที่แตกต่างกัน มีการแสดงกราฟสรุปข้อมูลต่างๆ โปรแกรมนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานง่ายต่อการวิเคราะห์ตัวระบบ Wireless LAN จากข้อมูลที่ได้ ทำให้เราทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็งของระบบซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงพัฒนาระบบให้มีเสถียรภาพให้มากที่สุด และยังสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูได้ว่ามีจำนวนผู้ใช้งานบริเวณ ไหนมากเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาการส่งข้อมูล
สรุปผลการทดลอง
การทดลองนี้เป็นการศึกษาการใช้งานโปรแกรม AirMagnet Laptop เพื่อให้ผู้ศึกษาได้มีความรู้และความเข้าใจถึงฟังก์ชั่นการใช้งาน หมวดหมู่ของโปรแกรมและรายละเอียดต่างๆของในโปรแกรมเพื่อความเข้าใจในการตรวจสอบสัญญาณ Wireless LAN ที่เราตรวจจับได้ว่า ณ ขณะนั้นมีกี่สัญญาณที่ตรวจเจอ มีอัตราการรับ ส่งข้อมูลเท่าไร จำนวนผู้ใช้กี่คน และเป็นข้อมูลมาตรฐานใด เป็นต้น โดยตัวโปรแกรมนี้จะแสดงฟังก์ชั่นการใช้งานโดยมีการบ่งบอกถึงการทำหน้าที่ของฟังก์ชั่นนั้นๆโดยมีการใช้สัญลักษณ์และสีมาเป็นตัวอธิบายเพื่อให้เข้าใจตัวโปรแกรมนี้ได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย และโปรแกรมนี้ยังดู IP address และ Mac address ที่รับสัญญาณ Wireless LAN ที่เราตรวจจับได้ว่าเครื่องเลขไหนได้เชื่อมต่อกับสัญญาณ Wireless LAN สัญญาณไหนที่เชื่อมต่อขณะที่ใช้งานได้อีกด้วย